วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ฝ่ายการเมืองกับฝ่ายบริหาร


จากกรณีข่าวที่มีการถกเถียงกันในเรื่องของการลงมติแต่งตั้ง นาย มงคล สุระสัจจะ เข้ารับตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยคนใหม่นั้น มีการก้าวก่ายแทรกแซงของนักการเมือง มีการเข้ารับตำแหน่งแบบก้าวกระโดดอันเนื่องมาจากมีนักการเมืองคอยหนุนหลัง มีการเปรียบเปรยว่าการตั้งจ้าวอาวาสนั้น ไม่ควรเอาเณรมาเป็นจ้าวอาวาส แต่นี่มันคล้ายกับว่าเอาเณรมาเป็นจ้าวอาวาส หากเป็นเช่นนี้ก็จะส่งผลถึงกำลังใจของข้าราชการในกระทรวงที่มีความพร้อมความสามารถ

จากที่ได้สรุปข่าวข้างต้น ก็พอที่จะทราบถึงแนวคิดของ วูดโรว์ วิลสัน ( Woodrow Wilson ) ซึ่งได้เขียนบทความชื่อว่า"The study of Administration"โดยมีแนวคิดที่ว่า การที่ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงฝ่ายบริหารจะเป็นการบ่อนทำลายโอกาสที่จะทำให้เกิดการบริหารที่มีประสิทธิภาพ

การคัดเลือก สรรหาข้าราชการตำแหน่งต่างๆนั้น จะต้องคัดเลือกจาก บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
นาย อิมรอน นาคสง่า เลขที่ 51 รปศ 531

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาการก่อม๊อบในประเทศไทยใช้แนวคิดของElton mayo (การศึกษาทดลองระยะที่3) ได้

Hawtorne Studies โดย Elton Mayo โดยจุดประสงค์ต้องการหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับปัจจัยทางกายภาพในการทำงาน โดยการทดลองแบ่งเป็น 4 ระยะ
ระยะที่1 เกี่ยวกับ อุณภูมิ แสงสว่าง
ระยะที่2 เกี่ยวกับ การศึกษาเกี่ยวกับคนงานหญิงเกี่ยวกับประเภทอาหารและเวลาพักกลางวัน
ระยะที่3 เกี่ยวกับ ทรรศนคติพนักงานเกี่ยวกับผู้บริหาร
ระยะที่4 เกี่ยวกับ กลุ่มคนงานที่ควบคุมงานกันเอง แทนที่จะจะใช้มาตรฐานของผู้บริหาร

การทำงานในประเทศไทยนั้นจำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีข้างต้นนี้ เพราะทฤษฎีจะทำให้เรารู้โครงสร้างภายในงานของเราที่ทำให้ได้ผลผลิตมากน้อยนั้น นอยู่กับอะไรบ้าง โดยเฉพาะผู้บริหาร ต้องศึกษาเกี่ยวกับระที่3 และระยะที่4 อย่างมาก เพราะเป็นกรณีที่น่าสนใจ เป็นปัจจัยที่ผีผลกระทบต่อผลผลิตภายในงานอย่างมาก เพราะผู้บริหารใช้แต่จะสั่งอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในตัวพนักงานด้วย เพราะบางปัญหานั้นไม่จำเป็นต้องแก้ไข เท่าแต่ผู้บริหารต้องรับฟังปัญหาของคนงาน ปัญหานั้นอจจะคลายปัญหาหรือลดดยที่ยังไม่ทันแก้ไขก็อาจเป็นไปได้ เพราะพนักงานนั้นต้องการแค่คนรับฟังปัญหาทำให้เขานั้นรู้สึกสบายใจที่ระบายปัญหาออกไปแล้ว เช่นการก่อม๊อบในที่ทำงานหลายๆแห่งในประเทศไทย นั้นเกิดมาจากที่ผู้บริหารไม่รับฟังปัญหาของพนักกงานเอาความคิดของตนเองเป็นหลัก เป็นต้น


นายฮาริส หมานละงู เลขที่54 ห้อง รปศ.531

ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ของ Maslow ใช้ได้จริงกับชีวิตคนเรา

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of Human Need by Abraham Maslow)

1. ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs )
2. ความต้องการความปลอดภัย(Safety needs)
3. ความต้องการทางสังคม(Socail need)
4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self-Esteem needs)
5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs)

ยกตัวอย่างการทำงานในโรงแรม มนุษย์เราทุกคนเมื่อเรียนจบ แล้ว ย่อมอยากจะมีงานทำเพื่อหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว นี้คือการเข้าสู่ความต้องการที่ 1ความต้องการทางร่างกาย ( Physiological needs )
สมมุติพอเราสมัครงานโรงแรม เราก็ย่อมดีใจเพราะเราได้งานที่ค่อนข้างจะมั่นคงแล้ว นั้นก็เข้าสู่ลำดับขั้นที่2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety needs) เมื่อทำงานได้สักพักเราก็ต้องการสูงขึ้น อยากพบปะกลุ่มคนทำงานแผนกเดียวกัน หรือทำงานคล้ายๆกับแขนงที่ตัวเราเองทำ นี้ก็เป็นความต้องการที่ 3.ความต้องการทางสังคม(Socail needs) เมื่อเรามีสังคม มีกลุ่มเพื่อน ก็ย่อมอยากจะเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน อยากจะเป็นหัวหน้า นี้ก็คือความต้องการลำดับที่4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self-Esteem needs) เมื่อได้ได้ความต้องการทั้ง4อย่างจนอิ่มตัวตัวเต็มที่แล้วก็จะเกิด ลำดับขั้นที่5 ที่Maslow ได้กล่าวไว้คือความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization needs)

สรุปคือ แนวคิดเกี่ยวกับลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เป็นแนวคิดที่ทำให้คนที่นำไปใช้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

นาย ยุทธนาวินทร์ อุ่นเมือง เลขที่28 ห้องรปศ.531

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักการบริหารของ เฮนรี เฟโยล์ (Henri fayol)

เฮนรี เฟโยล์ (henri fayol) นักวิศวกรอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศสอาศัยประสบการณ์ที่ได้จากการเป็นนักบริหารมาเป็น เวลานาน และรวบรวมขึ้นเป็นหลักการบริหาร
เฟโยล์ (fayol) เชื่อวาเป็นไปได้ที่เราจะหาทางศึกษาถึงศาสตร์เกี่ยวกับการบริหารที่สามารถใช้ได้กับการบริหารทุกรูปแบบ แนวคิดของเฟโยล์จึงอยู่ที่การค้นหากฎเกณฑ์ในการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นสากล (universal) ซึ่งเป็นสิ่
งที่จำเป็นสำหรับนักบริหารที่ต้องมีภาระหน้าที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อองค์การ
แนวคิดของเฟโยล์สามารถสรุปได้ดังนี้
-หลักการเกี่ยวกับหน้าที่การจัดการ (Manangement Functions) กระบวนการจัดการงานประกอบด้วยหน้าที่5ประการ หรือที่เรียกย่อว่า POCCC
-การวางแผน (Planning) การคาดการล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ต่างๆที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ
-การจัดองค์การ (Organizing) การจัดให้มีโครงสร้างของหน่วยงานต่างๆ
-การบังคับบัญชาสั่งการ (Commanding) การสั่งงานต่างๆให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
-การประสานงาน (Coordinating) การเชื่อมโยงงานของทุกคนให้เข้ากันให้เข้ากันได้และไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
-การควบคุม(Controlling) การที่จะต้องกำกับให้สามารถประกันได้ว่ากิจกรรมต่างๆที่ทำไปนั้นสามารถเข้ากันได้กับแผนที่วางไว้
องค์การบริหารนักศึกษาถือเป็นองค์การหนึ่งที่มีการบริหารโดยจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการจัดการในการบริหารงานภายในองค์กรเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ และมีหลักเกี่ยวกับหน้าที่การจัดการที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดการงาน 5 ประการ หรือ POCCC เพราะในการบริหารงานขององค์การนักศึกษาจำเป็นจะต้องมีการวางแผน,การจัดองค์การ,การบังคับบัญชาสั่งการ,การประสานงาน และการควบคุม เพื่อดำเนินการบริหารงานขององค์การนักศึกษาให้ประสบความสำเร็จ

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กลอนวันครู


เพราะมีครูศิษย์จึงก้าวถึงฝั่ง

เพราะมีครูเป็นพลังไม่สับสน

เพราะมีครูผู้สานฝันยาวชน

พระคุณล้นเหลือคณากว่าสาคร



ขอยกมือประนมก้มลงกราบ

ด้วยซึ้งซาบถ้อยคำที่พร่ำสอน

ผองเทวาจงปกปักนิรันดร

อำนวยพรให้ครูสุขทุกวันเทอญ
นายยุทธนาวินทร์ อุ่นเมือง เลขที่28

กลอนวันครู











ประนตน้อมพร้อมจิตลิขิตสาร





ดำริกานท์ก้มเกศพิเศษหมาย





นบบูชาพระคุณครูมิรู้วาย





ทั้งจิตกายตั้งมั่นกตัญญู





พระคุณที่สั่งสอนทั้งศาสตร์ศิลป์





ให้ศิษย์สิ้นสงสัยให้ความรู้





เกิดปัญญาก้าวหน้าเพราะคำครู





ยังก้องอยู่โสตประสาทมิขาดไป
นายฮาริส หมานละงู เลขที่54 ห้อง531

กลอนวันครู



ครูอาจารย์ประดุจดั่งเทียนเล่มหนึ่ง

คอยคะนึงสั่งสอนเด็กทุกแห่งหน

คอยเป็นแสงสว่างนำทางคน


ให้หลุดพ้นจากหลุมพรางอันตราย

ทั้งช่วยสร้างช่วยเสริมอบรมศิษย์

ไม่เคยคิดดูหมิ่นศิษย์ทั้งหลาย

นับแต่นี้ศิษย์ขอกราบประนมไหว้

นำดอกไม้ธูปเทียนเวียนบูชา

นายสุเทพ ขันแก้ว เลขที่38 ห้อง531

กลอนวันครู

กลอนวันครู
















คนเรานั้นเกิดมาต้องมีครู



เป็นผู้รู้สั่งสมรายวิชา



ตั้งใจสอนอบรมด้วยกายา



ครูนั้นหนาประเสริฐกว่าสิ่งใด



คิดดูเถิดหากใครไม่มีครู



คงไม่รู้ว่าครูสำคัญไฉน



คงไม่มีความรู้ติดตัวไป



จะเสียใจหากใครไม่มีครู
นายเรืองวิทย์ ล่องตี้ เลขที่29
ห้อง531

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักการบริหารของลูเธอร์ กูลิค และ ลินดอลล์ เออร์วิค

หลักการบริหารของลูเธอร์ กูลิค และ ลินดอลล์ เออร์วิค
1.หลักประสิทธิภาพ
ประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อที่จะให้บริหารในทุกหน่อยงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นถ้าเป็นผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในการปฏิบัติงานมากเท่าใด การบริหารงานก็จะบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น ประสิทธิภาพก็จะมากขึ้นเท่านั้น





แนวคิดเหมือนโรงบาลที่ผมได้ไปมาเขาจะต้องแบ่งงานเป็นแผนก หมอก็ต้องเป็นหมอเฉพาะโรค ที่จะต้องรู้เกี่ยวกับโรคนั้นเป็นอย่างดี ถึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องและแม่นยำ น่าเชื่อถือ



ดังนั้นถ้าจะทำงานหรือทำอะไรให้มีประสิทธิภาพและสำเร็จได้อย่างรวดเร็วนั้น เราจะต้องแบ่งงานกันทำงานตามความถนัด ตามความเหมาะสม และ ความชำนาญของแต่ละบุคคลจึงจะได้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

(นาย เกียรติศักดิ์ ชูเพรช รปศ 531 เลขที่ 5)

กลอนวันครู




คำว่าครูเรารู้อยู่แก่จิต
เคยนึกคิดบุญคุณบ้างไหมหนอ
คอยให้คำปรึกษาเมื่อยามท้อ
ทุกคำขอที่ศิษย์นั้นต้องการ
ณวันนี้เป็นวันอันศักดิ์สิทธ์
มาร่วมจิตร่วมใจอธิฐาน
ร่วมสำนึกบุญคุณครูอาจารย์
หวังสอบผ่านได้ A กันทุกคน


นาย อิมรอน นาคสง่า รปศ.531 เลขที่ 51


หลักการวิทยาศาสตร์


เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ผมเดินเข้าไปผมเจอกับ รปภ.ของห้าง และเมื่อผมเดินเข้าไปซื้อของก็มีพนักงานแต่ละแผนกมาให้บริการผมนึกขึ้นได้ว่าผมเคยอ่านหนังสือที่สอดคล้องกับเรื่องนี้ที่ว่า

Frederick Taylor ได้เสนอความเห็นในบทความชื่อ The Principle of Scientific Management ว่าการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์การจัดการเป็นวิธีที่ดีกว่าอาศัยหลักความเคยชิน ซึ่งเป็นหลักการทำงานตามประสบการณ์ของคนงานแต่ละคน

เทย์เลอร์ เชื่อว่า ระบบการบริหารเดิมนั้นผู้บริหารมีหน้าที่น้อยมากงานเบาเพราะการทำงานต่างๆขึ้นอยู่กับคนงาน การนำหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ทำให้ผู้บริหารได้ทำงานมากขึ้น โดยกำหนดให้มีการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายคนงานอย่างเท่าๆกัน

ผู้บริหารมีหน้าที่ดังนี้

1. สร้างหลักการทำงานสำหรับการทำงานในขั้นตอนต่งๆของงานแทนการปฏิบัติตามความเคยชิน

2.คัดเลือกคนงานเพื่อให้ได้คนงานที่เหมาะสมกับงาน

3.พัฒนาคนงานให้เรียนรู้หลักการทำงานแบบวิทยาศาสตร์

4.สร้างบรรยากาศการร่วมมือระหว่างผู้บริหารกับงาน

ผมคิดว่าหลักการของ เทย์เลอร์ นี้ดีควรที่จะนำหลักการนี้มาใช้เพราะหลักการนี้เป้าหมายคือการพยายามเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับองค์การ เพราะหลักการนี้ได้คัดเลือกคนงานที่เหมาะสมกับงานจึงทำให้งานมีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วในการทำงาน

นาย อิมรอน นาคสง่า รปศ. 531 เลขที่51

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สมาชิกในกลุ่ม

1. นาย อิมรอน นาคสง่า
2. นายฮาริส หมานละงู
3. นายเกียรติศักดิ์ ชูเพชร
4. นายสุลภาร์ มะมิงสตาปอเยาะ
5. นายเรืองวิทย์ ล่องตี
6. นายสุเทพ ขันแก้ว
7. นายยุทธนาวินทร์ อุ่นเมือง