วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักการวิทยาศาสตร์


เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ผมเดินเข้าไปผมเจอกับ รปภ.ของห้าง และเมื่อผมเดินเข้าไปซื้อของก็มีพนักงานแต่ละแผนกมาให้บริการผมนึกขึ้นได้ว่าผมเคยอ่านหนังสือที่สอดคล้องกับเรื่องนี้ที่ว่า

Frederick Taylor ได้เสนอความเห็นในบทความชื่อ The Principle of Scientific Management ว่าการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์การจัดการเป็นวิธีที่ดีกว่าอาศัยหลักความเคยชิน ซึ่งเป็นหลักการทำงานตามประสบการณ์ของคนงานแต่ละคน

เทย์เลอร์ เชื่อว่า ระบบการบริหารเดิมนั้นผู้บริหารมีหน้าที่น้อยมากงานเบาเพราะการทำงานต่างๆขึ้นอยู่กับคนงาน การนำหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ทำให้ผู้บริหารได้ทำงานมากขึ้น โดยกำหนดให้มีการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายคนงานอย่างเท่าๆกัน

ผู้บริหารมีหน้าที่ดังนี้

1. สร้างหลักการทำงานสำหรับการทำงานในขั้นตอนต่งๆของงานแทนการปฏิบัติตามความเคยชิน

2.คัดเลือกคนงานเพื่อให้ได้คนงานที่เหมาะสมกับงาน

3.พัฒนาคนงานให้เรียนรู้หลักการทำงานแบบวิทยาศาสตร์

4.สร้างบรรยากาศการร่วมมือระหว่างผู้บริหารกับงาน

ผมคิดว่าหลักการของ เทย์เลอร์ นี้ดีควรที่จะนำหลักการนี้มาใช้เพราะหลักการนี้เป้าหมายคือการพยายามเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับองค์การ เพราะหลักการนี้ได้คัดเลือกคนงานที่เหมาะสมกับงานจึงทำให้งานมีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วในการทำงาน

นาย อิมรอน นาคสง่า รปศ. 531 เลขที่51

1 ความคิดเห็น: